ปุ๋ยอินทรีย์(organic fertilizer)

ปุ๋ยอินทรีย์(organic fertilizer) คือปุ๋ยที่ได้มาจากการย่อยสลายส่วนประกอบสารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตจำพวกจุลินทรีย์ จนเป็นประโยชน์  เช่น ซากพืช ซากสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากแร่ ดิน หินภูเขาไฟ กระดูกสัตว์ กากตะกอนอ้อย ทละายปาล์ม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้น เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ได้ทั้งหมด

หน้าที่ของปุ๋ยอินทรีย์นั้นคือ ช่วยในการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ทำให้ดินมีธาตุอาหารสมดุลครบถ้วนทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง  ดินโปร่งร่วนซุย และที่สำคัญคือช่วยให้ดินมีอินทรีย์วัตถุเพิ่มมากขึ้น

คุณสมบัติของสารอินทรีย์ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

1.ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความ เป็นกรดด่าง และธาตุอาหารของดิน โดยเป็นการเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยน ประจุบวกของธาตุให้กับดิน ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการสรรหาและปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืช ยังเป็นการควบคุมการละลายของแร่ธาตุบางขนิดภายในดิน เช่น เหล็ก และ อะลูมิเนียม โดยเฉพาะในสภาพดินที่มีค่าความเป็นกรดสูง และยังช่วยเพิ่มประโยชน์ของธาตุอาหารพืชที่สำคัญเช่น ฟอสฟอรัส  และยังเป็นการช่วยลดการตรึงของดินที่ยึดติดธาตุอาหารบางตัวไว้ ทำให้พืชนำไปใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะดินที่มีสภาพเป็นกรดสูง อินทรีย์วัตถุจะช่วยเปลี่ยนแปลงสภาพของดินทำให้ธาตุอาหารต่างๆที่พืชต้องการให้อยู่ ในสภาพที่พืชนำไปใช้ได้

2.ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพของดิน ทำให้ดินมีมีความโปร่งพรุน อาการถ่ายเทได้ สะดวก สดการไหลของหน้าดิน ลดการสุญเสียของหน้าดิน น้ำไม่ขัง จุลินทรีย์ภายในดินมีการเจริญเติบโตที่ดี รากพืชสามารถชอนไชหาธาตุอาหารได้สะดวกขึ้น ดินก้อจะไม่แข็ง แน่น ทึบ

3.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ โดยคุณสมบัติของอินทรีย์วัตถุนั้นมีหน้าที่จะช่วยกระตุ้นการทำงาน ของสัตว์เล็กหรือจุลินทรีย์ภายในดินให้มีกิจกรรม ในช่วงการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ ทำให้เป็นการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชเข้าสู่ดินได้ดีขึ้น อันเนื่องจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ภายในดิน

ปฏิกริยาของอินทรีย์วัตถุที่เกิดขึ้น 3 ข้อที่ว่ามานั้นจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยตลอดเวลา แต่ยังไงก้อตามอัตราการเร่งการสลายตัวของวัสดุอินทรีย์ธาตุนั้นขึ้นและประโยชน์ที่ได้ตามมานั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมของ วัสดุอินทรีย์ ความชื้น น้ำ และอุณหภูมิ เป็นปัจจัยร่วมด้วย

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

หากปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวได้ที่แล้ว จะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างทนต่อการย่อยสลายภายในดินพอสมควร เพราะฉะนั้น ปุ๋ยอินทรีย์ จะสลายตัวได้ช้าในดินจึงถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะจะทำให้ปุ๋ยอินทรีย์คงสภาพและหน้าที่ในการปรับปรุงดินให้เหมาะสม ต่อการที่พืชจะนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้เป็นระยะเวลานาน สารอินทรีบางส่วนจะยังคงทนอยู่ ภายในได้นานมาก และก้อจะมีบางส่วนถูกย่อยสลาย และการย่อยสลายจะนั้นจะมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช ถูกปล่อยออกมาให้พืชใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ แบ่งออกได้เป็น 2 คุณสมบัติใหญ่ๆ คือ

1.คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์นั้น จะสามารถปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสมต่อพืช เช่นถ้าเป็นดินเนื้อละเอียดอัดตัวกันแน่นอย่างดินเหนียว สารอินทรีย์ในปุ๋ยก้อจะช่วยให้ดินนั้นมี สภาพร่วนซุ่ยมากขึ้น มีสภาพการระบายน้ำและอากาศที่ดี ไม่อัดตัวกันแน่นทึบจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยในการดูดซับน้ำและสารอินทรีที่มีประโยชน์ ต่อพืชได้มากขึ้น คุณสมบัติข้อนี้จึงมีผลให้รากพืชสามารถแผ่ขยายได้ ขึ้นอย่างรวดเร็ว แตกรากฝอยได้มากขึ้น มีระบบรากที่สมบูรณ์ จึงทำให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารและน้ำได้เป็นอย่างดี

ส่วนพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินทราย ดินร่วนปนทราย ดินประเภทนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์ภายในดินน้อย ธาตุอาหารพืชต่ำ ดินประเภทนี้ก้อควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และจะช่วยให้ดินทรายนั้นสามารถอุ้มน้ำและดูดซับความชื้นได้มากขึ้น แต่ก้อควรที่จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่มากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน

2.ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์นั้นเป็นแหล่งแร่ธาตุและแหล่งสารอาหาร จะทำหน้าที่ค่อยๆปลดปล่อยสารอาหารออกมาให้พืชดูดซึมอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ  ซึ่งแร่ธาตุในปุ๋ยอินทรีย์นั้นจะมีปริมาณแร่ธาตุที่สำคัญที่พืชต้องการนั้นคือ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ปริมาณธาตุอาหารที่กล่าวมานั้นจะมีมากมีน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของชนิด เศษ ซากพืช ซากสัตว์ และวัสดุอื่นๆ ที่นำมาหมักมาผสมอยู่ในเนื้อปุ๋ย

ประเภทและขนาดของวัสดุที่นำมาหมัก

โดยทั่วไปแล้ววัสดุที่นำมาทำปุ๋ยอินทรีย์นั้นจะเป็น จำพวก เศษซากพืช ซากสัตว์ แต่โดยส่วนใหญ่นั้น จะใช้เศษซากพืชเป็นหลักจำพวกเศษพืชที่เหลือจาการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรสามารถหามาใช้ได้ง่าย หรือแม้แต่เศษขยะ เศษอาหาร เศษกระดาษ กิ่งไม้ ใบตอง สิ่งต่างๆเหล่านี้นำมารวบรวมทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ทั้งสิ้น บางชนิดก้อย่อยสลายได้เร็ว บางชนิดย่อยสลายได้ช้า ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุเหล่านั้น ว่ามีชิ้นส่วนที่จุลินทรีย์สามารถย่อยและใช้เป็นอาหารได้ง่ายหรือยาก และและมีแร่ธาตุเพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์ ควรหั่นหรือสับให้วัสดุมีขนาดเล็กลงเพื่อเป็นการลดช่องว่าง เพื่อช่วยให้จุลินทรีเจริญเติบโตและย่อยเศษพืชเศษผักนั้นได้ทั่วถึง และแพ่ขยายเชื้อไปอย่างรวดเร็ว

มูลสัตว์

มูลสัตว์ที่จะนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์นั้น ใส่ได้ตามความต้องการมีมากใส่มาก เพราะถ้ายิ่งใส่มาก ก้อจะยิ่งช่วยให้เศษพืชเศษกิ่งไม้ย่อยสลายและแปรสภาพได้รวดเร็วขึ้น และควรใส่มูลสัตว์ในปริมาณ 1 ส่วนต่อ ต่อเศษซากพืช 10 ส่วน ถ้าปริมาณมูลสัตว์น้อยกว่าสัดส่วนนี้ อาจทำให้เศษซากพืชย่อยสลายตัวได้ช้าได้

ค่าความชื้นภายในปุ๋ยอินทรีย์

ปัจจัยในการที่จะช่วยให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ให้กลายเป็นปุ๋ยนั้น ขึ้นอยู่กับความชื้นหรือน้ำเนื่องจากจุลินทรีย์ต้องการความชื้นในการดำรงชีพ จึงต้องทำให้วัสดุที่จะนำมาหมักมีความเปียกชื้น และไม่ควรจะควบคุมระดับความชื้นให้คงที่ จุลินทรีจึงจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด สามารถทดสอบได้โดยใช้มือล้วงเข้าไป ในกองปุ๋ยนั้น หยิบเอาเศษพืชออกมากำบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำไหลซึมออกมาตามซอกนิ้ว แสดงว่ากองปุ๋ยนี้มีสภาพแฉะเกินไป ควรแก้ไข โดยงดการรดน้ำ และกลับกองปุ๋ยให้บ่อยขึ้นกว่าเดิม หรือ นำขี้เลื่อยหรือ เศษพืชแห้ง คลุกเคล้าลงไป แล้ว ทำการบีบดู ถ้ามีน้ำพอซึมออกมาแต่ไม่ไหลเป็นทางก้อถือว่า ใช้ได้ ความชื้นพอดี แต่ถ้าบีบแล้วไม่มีน้ำออกมาเลย ให้ทำการรดน้ำเพิ่ม เข้าไปทดแทน

วิธีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืช

1.ขั้นตอนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับพืชผัก ผักส่วนใหญ่จะมีระบบรากเป็นแบบรากฝอย ตื้นๆ หากินแถวผิวดิน ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพราะจะช่วยให้ดินร่วนมากขึ้นจึงช่วยให้ระบบรากของพืชผัก เติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีระบบรากที่สมบูรณ์ แผ่กระจายออกไปได้มาก จึงทำให้สามารถดูดซับธาตุอาหารและทนต่อความแห้งแล้ง ได้เป็นอย่างดี และควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในแปลงผักโดยใช้วิธีโรย ปุ๋ยที่สามารถสลายตัวได้ดี คลุมให้ทั่วทั้งแปลง หนาประมาณ 1-3 นิ้ว จากนั้นใช้จอบลงในดินให้ลึกประมาณ 4นิ้วให้ดินขึ้นมาคลุกเคล้ากับเนื้อปุ๋ยที่อยู่บนผิวดินให้ทั่วถึงกันทั้งแปลง

2.ขั้นตอนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับไม้ยืนต้นหรือไม้ผล เนื่องจากไม้ยืนต้นหรือไม้ผลนั้น จะมีระบบรากที่ลึก ควรเริ่มต้นเตรียมดินในหลุมตั้งแต่ก่อนที่จะปลูกให้ดีเพราะจะช่วยให้ระบบรากและระบบลำต้นของไม้ยืนต้นนั้นมีความแข็งแรงในช่วงแรกเป็นอย่างมาก จึงควรเตรียมหลุมโดยการขุดหลุมให้ลึก แล้วถึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในหลุมคลุกเคล้ากับดินในหลุมให้ทั่วในอัตรา ดิน2ส่วน ต่อ ปุ๋ย1ส่วน เท่านี้ก้อสามารถนำไม้ยืนต้นที่ต้องการปลูกลงไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ได้แล้ว แต่ถ้าหาก ต้องการใส่ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับไม้ยืนต้นที่โตแล้ว นั้นให้ทำการ พรวนดินรอบๆต้นให้ลึกประมาณ2นิ้ว  ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร กว้าง ประมาณ 1 ฟุต แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์หนาประมาณ 1 นิ้ว คลุกเคล้าในดินที่ขุดให้ทั่วแล้วจึงรดน้ำ หรืออีก วิธีนึงคือ ใช้วิธีขุดร่องรอบๆพุ่มของต้น ให้ลึกประมาณ 1-2 ฟุต จึงใส่ปุ๋ยลงไปในร่องประมาณ 40-50กิโลกรัม แล้วเอาดินที่ขุดมากลบ และรดน้ำ วิธีที่ว่ามานั้นควรกระทำปีละ1 ครั้ง เมื่อต้นไม้มี ขนาดที่โตขึ้นก้อควรจะเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

3.ขั้นตอนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวหรือพืชไร่

3.1 ถ้าหากแร่ธาตุในดินของพื้นที่นั้นมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ควรใส่ในปริมาณอย่างน้อย 1.5-2.5 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแล้วจึงไถกลบ

3.2 ถ้าหากแร่ธาตุในดินของพื้นที่นั้นมีความอุดมสมบรูณ์ในดินต่ำ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณอย่างน้อย 2-3 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแล้วจึงไถกลบ การใส่ปุ๋ยนั้นขึ้นอยู่กับ สภาพดินในที่ผืนนั้นด้วยว่าเสื่อมมากเสื่อมน้อยแค่ไหน แต่ถ้าต้องการเพิ่มความสมบูรณ์ของดินก้อควรต้องใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยหรืออาจจะต้องมีการบริหารจัดการดิน โดยวิธีอื่นๆร่วมด้วย โดยในการเตรียมดินในพื้นที่ นา 1ไร่นั้น ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณ 200 กิโลกรัม ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ

โดยแบ่งได้เป็นระยะดังนี้

3.2.1 ช่วงไถพรวน หว่านปุ๋ยปริมาณ 100 กิโลกรัมให้ทั่วทั้งผืนนา แล้วจึงผสมน้ำหมักชีวภาพ 20 ช้อนโต็ะ ผสมน้ำ80 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว แล้วจึงทำการไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้น้ำหมักชีวภาพได้ทำการย่อยสลายวัชพืช

3.2.2 ช่วงไถคราด ให้ผสมน้ำหมักชีวภาพในอัตราส่วน 20 ช้อนโต็ะ ผสมกับน้ำ 80 ลิตร ฉีดพ่นทับให้ทั่วทั้งแปลงอีกครั้ง แล้วจึงทำการ ไถคราดให้ทั่วจึงเตรียมการปักดำ

3.2.3 ช่วงหลังปักดำ 7-15 วัน นำปุ๋ยอินทรีย์มา 30 กิโลกรัม มาหว่านให้ทั่วทั้งแปลง จึงค่อยพ่นทับด้วยน้ำหมักชีวภาพตามสัดส่วน 20 ช้อนโต็ะต่อน้ำ 80 ลิตร อีกรอบ

3.2.4 ช่วงข้าวอายุ 1 เดือน ให้ทำในวิธีเดียวกับช่วงหลังปักดำโดย นำปุ๋ยอินทรีย์มา 30 กิโลกรัม มาหว่านให้ทั่วทั้งแปลง จึงค่อยฉีดพ่นทับด้วยน้ำหมักชีวภาพตามสัดส่วน 20 ช้อนโต็ะต่อน้ำ 80 ลิตร อีกรอบ

3.2.5 ช่วงก่อนข้าวตั้งท้อง ทีนี้ให้ทำการเพิ่มปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ ขึ้นเป็น 40 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ทำการหว่านให้ทั่วแล้วจึง ฉีดพ่นทับด้วยน้ำหมักชีวภาพตามสัดส่วน 20 ช้อนโต็ะต่อน้ำ 80 ลิตร

3.2.6 ช่วงข้าวติดเมล็ด ให้ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพตามสัดส่วน 20 ช้อนโต็ะต่อน้ำ 80 ลิตร

นอกจากพืชไร่ พืชสวน ที่ว่ามาข้างต้นนั้น ปุ๋ยอินทรีย์ยังสามารถใช้กำพืชชนิดอื่นได้อีกมากมายหลายชนิด

รายละเอียดมาตราฐานของปุ๋ยอินทรีย์

1.ขนาดของเนื้อปุ๋ยควรไม่เกิน 12.5×12.5 มิลลิเมตร เมื่อถูกร่อนผ่านตะแกรง

2.ปริมาณความชื้นควรไม่เกิน 35% โดยน้ำหนัก

3.ปริมาณกรวดและหิน ที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ควรมีไม่เกิน 5 % โดยน้ำหนัก

4.เศษแก้ว พลาสติก โลหะ และ วัสดุมีคม ต้องไม่มีปะปนมาในปุ๋ย เพราะอาจทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตรายได้

5.ปริมาณอินทรีย์วัตถุควรมี ไม่ต่ำกว่า 30% โดยน้ำหนัก

6.ควรมีค่าความเป็นกรดด่างในปุ๋ยอยู่ในช่วงระหว่าง (pH) 5.5-8.5

7.ค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน ควรมีอัตราส่วนไม่เกิน 20 ต่อ 1

8.ค่านำไฟฟ้า ควรไม่เกิน 6 dS/m

9.การย่อยสลายที่สมบูรณ์ ต้องมากกว่า 80 %